เมนู

พรรณนาคาถาที่ 8



พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งทรงแสดงเมตตาภาวนาโดยอาการทั้งปวง
อย่างนี้ บัดนี้ เมื่อทรงแสดงการเจริญเมตตาภาวนานั้นนั่นแล จึงตรัสว่า
เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสฺมึ เป็นต้น.
ในคาถานั้น ชื่อว่า มิตร เพราะรักและรักษา อธิบายว่า ห่วงใย
เพราะมีอัธยาศัยมุ่งประโยชน์เกื้อกูล และรักษาให้พ้นจากการมาถึงของสิ่งไม่
เป็นประโยชน์. ความเป็นแห่งมิตร ชื่อว่าเมตตา. บทว่า พสฺพโลกสฺมึ
ได้แก่ ในสัตว์โลกไม่เหลือเลย. มีในใจ เหตุนั้น จึงชื่อว่า มานสะ. ก็คำว่า
มานสํ นั้น ท่านกล่าวอย่างนี้ก็เพราะประกอบกับจิต บทว่า ภาวเย แปลว่า
ให้เจริญ. ประมาณของมานสะนั้น ไม่มีเหตุนั้นจึงชื่อว่า อปริมาณ. ท่านกล่าว
อย่างนี้ ก็เพราะเมตตามีสัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์. บทว่า อุทฺธํ แปลว่า
เบื้องบน. ทรงถือเอาอรูปภพด้วยบทนั้น. บทว่า อโธ แปลว่า เบื้องล่าง ทรง
ถือเอากามภพด้วยบทนั้น. บทว่า ติริยํ ได้แก่เบื้องขวาง ทรงถือเอารูปภพ
ด้วยบทนั้น. บทว่า อสมฺพาธํ ได้แก่ เว้นจากความคับแคบ. ท่านอธิบายว่า
มีขอบเขตอันแตกแล้ว [ไม่มีขอบเขต]. ข้าศึกท่านเรียกชื่อว่า ขอบเขต อธิบาย
ว่า เป็นไปในที่ไม่มีขอบเขตนั้น. บทว่า อเวรํ ได้แก่ เว้นจากเวร อธิบายว่า
เว้นจากความปรากฏแห่งเจตนาก่อเวรแม้ในระหว่าง ๆ บทว่า อสปตฺตํ ได้แก่
ปราศจากข้าศึก. จริงอยู่บุคคลผู้อยู่ ด้วยเมตตา ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์เป็น
ที่รักของพวกอมนุษย์. ข้าศึกไร ๆ ของเขาย่อมไม่มี. ด้วยเหตุนั้น มานัสสิ่งที่มี
ในใจของเขานั้น ท่านจึงเรียกว่า อสปัตตะ เพราะปราศจากข้าศึก. ก็คำที่ว่า
ข้าศึก ศัตรู. เป็นคำโดยปริยาย. การพรรณนาความตามบทมีเท่านี้ ส่วนการ
แสดงความที่ประสงค์ในที่นี้ มีดังนี้.

พึงเจริญขยายเมตตาที่ตรัสไว้ว่า เอวมฺปิ สพฺพภูเตสุ มานสํ
ภาวเย อปริมาณํ
ดังนี้ แผ่เมตตาที่มีอยู่ในใจไม่มีประมาณ ให้บรรลุถึงความ
เจริญงอกงามไพบูลย์ในโลกทั้งปวง. ทำอย่างไร คือแผ่เมตตานั้น ไปไม่เหลือ
ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างเบื้องขวางคือ เบื้องบนก็ตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมา เบื้องล่าง
ก็ตั้งแต่อเวจีนรกขึ้นไป เบื้องขวางก็ตั้งแต่ทิศที่เหลือ หรือเบื้องบนก็ได้แก่
อรูปธาตุ เบื้องล่างก็ได้แก่กามธาตุ เบื้องขวางก็ได้แก่รูปธาตุ ก็แลเมื่อเจริญ
เมตตาอยู่อย่างนี้ การทำไม่ให้มีความคับแคบเวรและข้าศึก พึงเจริญ เมตตานั้น
โดยประการที่ไม่มีความคับแคบ ไม่มีเวรและไม่มีข้าศึก. หรือว่าเมตตานั้น
ถึงภาวนาสัมปทา เป็นคุณชื่อว่าไม่คับแคบ เพราะเป็นโอกาสโลกทั้งปวง (คือ
31 ภูมิ) เป็นคุณชื่อว่าไม่มีเวร เพราะกำจัดความอาฆาตของตนในสัตว์อื่นเสีย
เป็นคุณชื่อว่าไม่มีข้าศึก เพราะกำจัดความอาฆาตของสัตว์อื่นในตนเสียก็พึงเจริญ
ขยายเมตตาอันมีในใจนั้น ที่ไม่คับแคบ ที่ไม่มีเวร ที่ไม่มีข้าศึก ไม่มีประมาณไป
ในโลกทั้งปวง โดยกำหนดทิศทั้งสาม คือ เบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง.

พรรณนาคาถาที่ 9


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ทรงแสดงการเจริญเมตตาภาวนาอย่างนี้แล้ว
เมื่อทรงแสดงความไม่มีอิริยาบถแน่นอนของผู้ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งการเจริญ
เมตตานั้นอยู่ จึงตรัสว่า ติฏฺฐํ จรํ ฯ เป ฯ อธิฏฺเฐยฺย ดังนี้.
คาถานั้นมีความว่า ผู้เจริญเมตตาเมื่อเจริญเมตตามีในใจนี้อย่างนี้ ไม่
ต้องจำกัดอิริยาบถ เหมือนอย่างในบาลีว่า นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง เมื่อทำการ
บรรเทาความปวดเมื่อยด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามสบาย จะยืนหรือ
เดิน นั่งหรือนอน ยังเป็นผู้ปราศจากความง่วงนอน เพียงใด ก็พึงตั้งสติ
ในเมตตาฌานนั้นไว้เพียงนั้น.